จุดซ่อนเร้นเหม็น

สาว ๆ กำลังมีปัญหาจุดซ่อนเร้นเหม็น ซึ่งทำให้วิตกกังวลใจอยู่ตลอดเวลา เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ และยังทำให้ไม่มีความมั่นใจในการพบปะผู้คนหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เพราะเกรงว่า จะไปสร้างความรำคาญต่อผู้อื่น จนทำให้ภาพลักษณ์เสียหายได้ จึงจำเป็นต้องศึกษาหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและรบกวนผู้อื่นได้

สาเหตุการเกิดกลิ่นจุดซ่อนเร้น

จุดซ่อนเร้นเหม็น การเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์นี้เกิดได้จากฮอร์โมนอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายภายในเช่นมีอาการตกขาวคันแสบร้อนระคายเคืองหรือมีกลิ่นคาว ๆ รวมไปถึงการรักษาความสะอาดของร่างกายก็เป็นอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถแบ่งเป็นสาเหตุต่าง ๆ ได้

  1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย นี่เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่แบคทีเรียในช่องคลอดไม่สมดุล ซึ่งเกิดได้ทั้งกับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน โดยหลังติดเชื้อแบคทีเรียจะสังเกตเห็นอาการคันและตกขาวเกิดขึ้น
  2. ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเช่นนี้ก็ทำให้เกิดกลิ่นที่จุดซ่อนเร้นได้เช่นเดียวกัน และยังมีอาการอื่นที่คล้ายกับคนที่ติดเชื้อแบคทีเรียคือมีตกขาวมีอาการคันและมีกลิ่น แต่อาจมีลักษณะอื่น ๆเช่นมีเลือดออก ในบางรายหรืออาจมีลักษณะผิดปกติที่อวัยวะเพศ ซึ่งควรพบแพทย์เป็นการด่วน
  3. การดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงที่มีประจำเดือนหากเกิดอาการอับชื้นก็อาจทำให้มีกลิ่นได้ ทางที่ดีคือหมั่นทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 2-4 ชั่วโมงเพื่อสุขอนามัยที่ดี
  4. อาหารที่รับประทานเข้าไป บางคนเกิดจากอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ของหมักดองอาหารรสจัดมีกลิ่นฉุนอย่างปลาร้ากระเทียมปลาเค็มก็อาจทำจุดซ่อนเร้นมีกลิ่นได้
  5. ใส่กางเกงที่รัดเกินไป เริ่มตั้งแต่กางเกงชั้นในที่รัดจนเกินไป หรือแม้แต่กางเกงที่รัดแน่นจนทำให้ระบายอากาศไม่ดี ก็อาจจะทำให้มีโอกาสมีกลิ่นที่จุดซ่อนเร้นได้
  6. ฮอร์โมน ส่วนใหญ่จะเกิดได้บ่อยกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้มีกลิ่นที่จุดซ่อนเร้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงในขณะนั้น

จุดซ่อนเร้นเหม็น รักษายังไง

การดูแลตนเอง หลังจุดซ่อนเร้นมีกลิ่น

  1. ดูแลตนเอง โดยทั่วไป ภายในช่องคลอดจะผลิตสารหล่อลื่นเพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกภายในตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งจะออกมาในรูปของการตกขาว อย่างไรก็ตาม ควรรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอดและอวัยวะเพศอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาช่องคลอดมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
  • อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน ๆ เพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางชนิดอาจส่งผลต่อค่า pH (ความเป็นกรดด่าง) ภายในช่องคลอด ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ ควรระมัดระวังในการใช้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ทำความสะอาดบริเวณภายนอกช่องคลอดเท่านั้น ไม่ควรใช้น้ำหรือสเปรย์น้ำหอมใด ๆ ฉีดพ่นเข้าไปภายในช่องคลอด และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ภายในช่องคลอด
  • หากเป็นช่วงรอบเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ
  • ใช้กางเกงชั้นในที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ อย่างกางเกงชั้นในผ้าฝ้าย 100 % เพื่อช่วยการระบายความอับชื้น
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกงรัดรูปอย่างกางเกงยีนส์ เพราะอาจทำให้ช่องคลอดอับชื้นและมีกลิ่นได้
  1. การรักษาด้วยยาจากร้านขายยา หากช่องคลอดมีกลิ่น หรือพบร่วมกับอาการตกขาวที่ผิดปกติ ในเบื้องต้นสามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้ด้วยตนเอง คือ
  • ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ในรูปแบบยารับประทาน เป็นยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม รับประทาน 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน
  • ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) ยาในรูปแบบครีมให้ใส่ภายในช่องคลอดก่อนนอนติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน หรือยาแบบรับประทาน เป็นยาเม็ดขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทาน 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำจากเภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้วิธีการสวนล้างช่องคลอดในการรักษา เพราะอาจทำให้แบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลแล้วอาจเกิดอาการอื่น ๆ ตามมาได้ หากใช้ยารักษาด้วยตนเองแล้วอาการไม่ทุเลาลง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
  1. การรักษาเมื่อไปพบแพทย์ หากแพทย์วินิจฉัยแล้วพบความผิดปกหรืออาการเจ็บป่วย แพทย์จะให้รักษาตามสาเหตุของความผิดปกติ เช่น
  • แบคทีเรียล วาไจโนสิส, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน แพทย์จะรักษาด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน โดยใช้ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ทินิดาโซล (Tinidazole) หรืออัลเบนนาโซล (Albendazole) ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของทั้งปรสิตและแบคทีเรีย
  • การป่วยโรคทริโคโนสิส ที่เกิดจากปรสิต แพทย์จะจ่ายยาต้านปรสิต (Anti-parasitic) หรือยาฆ่าหนอนพยาธิ (Anti-helminthic) หากตรวจพบพยาธิได้เร็ว จะใช้ยาอัลเบนดาโซล (Albendazole) หรือมีเบนดาโซล (Mebendazole) เพื่อฆ่าหนอนและตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ภายในลำไส้
  • การอักเสบที่เกิดจากเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Thrush) เป็นยาในรูปแบบครีมใส่ภายในช่องคลอดหรือยาเม็ดรับประทาน โดยแพทย์จะใช้ยาอีโคนาโซล (Econazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) เฟนติโคนาโซล (Fenticonazole) หรือไอทราโคนาโซล (Itraconazole)
  • มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งในช่องคลอด ต้องตรวจคัดกรองหาเซลล์มะเร็ง แล้วรักษาตามอาการป่วยและระยะของมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก รังสีบำบัด และการทำเคมีบำบัด
  • ความผิดปกติของลำไส้ที่ทะลุเข้าสู่ช่องคลอด (Rectovaginal Fistula) แพทย์อาจให้ยารักษาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด อย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะหากรอบ ๆ ลำไส้มีการติดเชื้อ หรือยาอินฟลิกซิแม็บ (Infliximab) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบ เพราะผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณรอบลำไส้บริเวณทวารหนักต้องปราศจากการติดเชื้อหรือการอักเสบก่อนทำการผ่าตัดเคลื่อนย้ายลำไส้ออกจากช่องคลอด

By WorldGymBowie.com

ดูแลจุดซ่อนเร้น โดยการ ศัลยกรรม จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น รีแพร์กระชับช่องคลอด ช่วยดูแลจุดซ่อนเร้น ไม่ให้มีกลิ่น และสิ่งสกปรก